ยินดีต้อนรับสู่บล็อกความรู้ควบคู่คุณธรรม

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

What is science


                  วิทยาศาสตร์ (science) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่าง มีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน โดยมีเหตุผล และหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ตามหลักวิชาการได้, วิชาที่ได้ศึกษาค้นคว้ามีหลักฐาน และเหตุผล แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ



วิทยาศสาตร์มีกี่ประเภท                             

                          การแบ่งประเภทของวิทยาศาสตร์นั้น มีการแบ่งหลายระบบ แต่ละระบบนั้นจะมีเหตุผลและหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน  หากจำแนกตามธรรมชาติของวิชา สามารถจำแนกได้ 3 สาขา ได้แก่                             
                         1. วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ                             
                          2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ชีววิทยา สัตววิทยา ฯลฯ                             
                         3. วิทยาศาสตร์สังคม เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนหรือสังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

             ปัจจุบันนั้นวิทยาศาสจร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรสทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ  เครื่องมือเครื่องใช้   ตลอดจนผลผลิตต่างๆ  เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน   ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์  ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ   ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก    
พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
            
             วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด   ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล   คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้  มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   
 สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้   
 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่  ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการ  พัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์  ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล   สร้างสรรค์  มีคุณธรรม  ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี   แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์  การดูแลรักษา  ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน   และที่  สำคัญยิ่งคือ  ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ  

 สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             1. การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันเมื่อมีปัญหา หรือข้อสงสัยอย่างใดเกิดขึ้นเราต้องใช้เหตุผลเพื่อหาคำตอบหรือแก้ข้อสงสัยต่าง ๆ เสมอมา ในชีวิตประจำวันเราคงจะประสบกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งกับตัวเราเองหรือบุคคลใกล้ชิด การพยายามหาข้อมูล ต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของปัญหานั้นอย่างมีเหตุผล สามารถทำให้เราแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
             2. วิเคราะห์ปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อการแก้ปัญหา
วิทยาศาสตร์นำบุคคลไปสู่การมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นกระบวนการของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและการแก้ปัญหา
              3. สร้างคนให้มีกระบวนการคิด มีเหตุมีผล ไม่หลงงมงายในสิ่งที่ไร้สาระ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นที่แต่ละบุคคลจะปรับเอาไปใช้แก้ปัญหาของตน แม้ว่ามันจะชื่อว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่จริง ๆ แล้ว ศาสตร์ไหน ๆ ก็ใช้ได้ทั้งนั้น เรื่องการสังเกต การจดบันทึกและแปรความ การพยากรณ์ สร้างคนให้มีเหตุผล ไม่ให้เชื่อถือโชคลางหรือหลงงมงาย เหล่านี้นำไปใช้ได้ทั้งหมด
              4. ปรับปรุงคุณภาพของชีวิต วิทยาศาสตร์จะเกี่ยวพันกับมนุษย์ทุกคนตลอดชีพ
ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งเข้านอนจะเกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าวิทยาศาสตร์ได้นำความสุข ความสะดวกสบายมาสู่การดำรงชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
                                  4.1 อาหาร ได้รู้จักวิธีรักษาอาหารไม่ให้บูดเสีย รู้จักคุณค่าของอาหารว่า
มนุษย์เราต้องการ แป้ง ไขมัน โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเพียงพอได้อย่างไรและคิดประดิษฐ์อาหารขึ้นได้ เสาะแสวงหาอาหารให้พอเลี้ยงพลโลกจากแหล่งที่มาจากทะเล อากาศ บนพื้นโลก จากทะเล ได้ผลิตเกลือรับประทาน (NaCI) ผลิตไอโอดีนจากสาหร่ายทะเล ซึ่งเอามาทำวุ้นและแยกไอโอดีนออก ได้โปรตีนจากสัตว์และพืชเช่น Algae ในทะเลนำมาเป็นอาหาร
                                  4.2 เครื่องนุ่งหุ่ม ได้รู้จักสีย้อมผ้า สมัยก่อนมักใช้สีจากพืชมาย้อมผ้า แต่พอถึง ค.ศ. 1856 William Perkin ได้เริ่มใช้สีที่เตรียมจากถ่านหินหรือสีสังเคราะห์ นอกจากนั้นนักเคมียังรู้จักวิธีทำไหมเทียม ทำปลาสติก ทำไนลอน เพื่อทำเสื้อผ้าสวย ๆ ใช้ เช่น และสารสังเคราะห์ใช้แทนยาง เป็นต้น
                                  4.3 สุขภาพอนามัย แต่ก่อนนี้อัตราคนตายมีมาก แต่ต่อมาจนปัจจุบันอัตรานั้นได้ลดน้อยลงไป ทั้งนี้เพราะกินอาหารดีขึ้น มีที่อยู่อาศัยและน้ำบริโภคดีขึ้น เช่น น้ำประปาก็ต้องใช้ความรู้ของวิชาเคมีทำให้บริสุทธิ์ โดยฆ่าเชื่อโรคด้วย CI2 ทำให้ฟันแข็งโดยเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังมียาใหม่ ๆ ที่ใช้เป็นผลดีเป็นอันมาก เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาพวกซัลฟา ยาสำหรับฆ่าเชื้อโรค การต้นพบยาชา (Anaesthetic) ช่วยให้ศัลยกรรมเป็นผลดียิ่งขึ้น การพบคลอโรฟอร์ม โคเคน ก๊าซหัวเราะ อีเทอร์ (ซึ่งเป็นยาชา) ได้ช่วยชีวิตและบรรเทาความปวดทรมานของคนไข้ไว้เป็นอันมาก
                                  4.4 ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ มีไม้ขีดไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สบู่ หม้อ
เครื่องภาชนะ เครื่องใช้ไม้สอยที่ทำด้วยโลหะและปลาสติก ก๊าซถ่านหิน รถยนต์ น้ำมัน ผงซักฟอก เครื่องก่อสร้าง เช่นเหล็ก เหล็กกล้า Stainless Steel (Fe + Cr) อะลูมิเนียม ซีเมนต์ คอนกรีต กระจกแตกไม่บาด (Nonsplintered glass) ข้อเสือในเครื่องยนต์ก็ใช้ทำด้วย Alloy ของเหล็ก (เหล็กผสมกับมังกานีส) เป็นต้น
                                   4.5 การสังเคราะห์ใช้เทียมของจริง ยางเทียม ไหมเทียม การบูร ยาควินนิน ยารักษาโรค แกรฟไฟต์ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น
                                    4.6 เครื่องอำนวยความบันเทิง เช่น ภาพยนต์ โทรทัศน์ การถ่ายรูป

เป็นต้น เกิดมีขึ้นได้เพราะวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีสอนให้รู้จักการถ่ายรูป วิทยุนั้นก็อาศัยความรู้จากวิทยาศาสตร์ กระดาษ หนังสือ ฟุตบอล ลูกเทนนิส ลูกปิงปอง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลิตพันธุ์ขึ้นมาได้โดยอาศัยมาจากวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น (ทองสุข พงศทัตและคณะ. 2525 : 7-8)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น